วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

8. สรุปผลการศึกษา

                          
          จากการสร้างลายก้อม(ที่นั่ง)จากโปรแกรม The Geometer's Sketchpad ทำให้คณะผู้จัดทำได้ทราบถึงวิธีการสร้างลายก้อม(ที่นั่ง)แบบต่างๆ ได้ผลการศึกษา ดังนี้
                1.     ทำให้ทราบถึงวิธีการสร้างลายก้อม(ที่นั่ง)และทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างลายจากโปรแกรม The Geometer's Sketchpad โดยอาศัยความรู้เรื่อง การเทสเซลเลชัน(Tessellation)
                2.    ทำให้ทราบถึงวิธีการสร้างก้อม(ที่นั่ง) โดยอาศัยความรู้เรื่อง รูปเรขาคณิต  การวัด  และมุม
          3. สามารถนำโปรแกรม The Geometer's Sketchpad มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
อภิปรายผลการศึกษา
                จากผลการศึกษาทำให้คณะผู้จัดทำได้ทราบว่า เราสามารถนำความรู้เรื่องการวัด รูปเรขาคณิต มุม และโปรแกรม The Geometer's Sketchpad มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างหลากหลาย ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้เราสามารถนำความรู้เรื่อง การเทสเซลเลชัน(Tessellation)มาใช้ในการสร้างลวดลายของก้อม(ที่นั่ง)ได้อย่างสวยงาม
ข้อเสนอแนะ
        1. ควรมีการนำความรู้เรื่องรูปเรขาคณิต และโปรแกรมThe Geometer's Sketchpad
ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างลวดลายของใช้ต่างๆ เช่น กระถางต้นไม้  ลายเสื้อ โต๊ะ เป็นต้น
        2. ควรมีการนำเสนอการออกแบบสร้างลวดลายต่อผู้ที่สนใจได้ศึกษาและนำไปใช้ต่อไป
 
                                                                             

7. ผลการศึกษา

จากการสร้างลวดลายก้อม(ที่นั่ง)จากโปรแกรม The Geometer 's Sketchpad ทำให้คณะผู้จัดทำได้ทราบถึงวิธีการสร้างที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ผลการศึกษาดังนี้

1. ก้อม(ที่นั่ง)รูปวงกลม  ใช้รูปเรขาคณิตประดิษฐ์ลวดลายลงบนก้อม(ที่นั่ง)รูปวงกลมที่ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง 24 เซนติเมตร

                  
2. ก้อม(ที่นั่ง)รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้รูปเรขาคณิตประดิษฐ์ลวดลายลงบนก้อม(ที่นั่ง)รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ความยาวของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละ  24 เซนติเมตร

3. ก้อม(ที่นั่ง) รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้รูปเรขาคณิตประดิษฐ์ลวดลายลงบนก้อม(ที่นั่ง)รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ความยาวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวด้านยาว  30 เซนติเมตร และด้านกว้าง  20 เซนติเมตร

4. ก้อม(ที่นั่ง)รูปสามเหลี่ยม  ใช้รูปเรขาคณิตประดิษฐ์ลวดลายลงบนก้อม(ที่นั่ง)รูปสามเหลี่ยมที่มียาวด้านละ 24 เซนติเมตร

   5. ก้อม(ที่นั่ง)รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใช้รูปเรขาคณิตประดิษฐ์ลวดลายลงบน ก้อม(ที่นั่ง)รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่ความยาวด้านละ 24 เซนติเมตร


6. ก้อม(ที่นั่ง)รูปหกเหลี่ยมด้านเท่า  ใช้รูปเรขาคณิตประดิษฐ์ลวดลายลงบนก้อม (ที่นั่ง)รูปหกเหลี่ยมด้านเท่าที่มียาวด้านละ 15 เซนติเมตร

                    

6. วัสดุ/อุปกรณ์

1. ไม้แผ่นตัดเป็นรูปเรขาคณิต คือ รูปสี่เหลี่ยม  จำนวน     6    แผ่น
    สามเหลี่ยม  วงกลม  และหกเหลี่ยม
2. ไม้แผ่นหนา  1.5  นิ้ว ตัดเป็นขาก้อม              จำนวน   12   ชิ้น
3. ตะปูขนาด 1 นิ้ว                              จำนวน    24   ตัว
4. ค้อน                                                                จำนวน     3   อัน
5. สีacrylic                                                          จำนวน    5   ขวด
6. กระดาษ copy สีดำ                                         จำนวน     6    แผ่น
7. ดินสอ                                                              จำนวน    3     แท่ง
8. กระดาษ A4                                                     จำนวน     1     ริม
9. ไม้บรรทัด                                                       จำนวน      3     อัน
10. เลื่อยไม้                                                         จำนวน        3    อัน
11. ไม้โปรแทรกเตอร์                                          จำนวน       3    อัน
12. ตลับเมตร                                                      จำนวน        3    อัน
13. พู่กัน                                                              จำนวน     9       อัน
14. จานสี                                                            จำนวน      3       อัน
15. แปรงทาสี                                                     จำนวน       3      อัน

      
                                   

5. วิธีการดำเนินงาน

1. ประชุม­เพื่อจัดหาหัวข้อที่น่าสนใจเพื่อจัดทำโครงงาน
2.  แบ่งงานเพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานที่จัดทำ
3.  รวบรวมเนื้อหาที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าและสรุปใจความสำคัญ
4.  ศึกษาวิธีการทำก้อม(ที่นั่ง)และการสร้างลายจากโปรแกรม The Geometer's Sketchpad
5.  ลงมือปฏิบัติจนได้ชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์
6.  สรุปผลการศึกษาและจัดทำรายงาน

4. ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

 1. ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เรื่อง การวัด  รูปเรขาคณิต มุม และการเทสเซลเลชัน(Tessellation) จากหนังสือเรียนและอินเทอร์เน็ต
 2. ศึกษาและใช้โปรแกรมThe Geometer's Sketchpad  สร้างลวดลายที่วาดบนก้อม(ที่นั่ง)             
 3. ศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือผู้รู้ นำความรู้ ประสบการณ์มาสร้างสรรค์งานศิลปะและประยุกต์ใช้
 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาใช้เวลารวม 1 เดือน
 
                                            

3. สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

                       การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยการ Tessellation จากโปรแกรม  The Geometer ' Sketchpad เป็นการประดิษฐ์ลวดลายสวยงามหลากหลายรูปแบบของก้อม(ที่นั่ง)และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
 
                                                                                                                     

2. วัตถุประสงค์

         1.  เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างลายจากโปรแกรม
 The Geometer 's Sketchpad
         2.  เพื่อนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         3. เพื่อฝึกกระบวนการคิดในการทำงานเป็นกลุ่มแบบเป็นขั้นตอน
 
                                         

1. ที่มาและความสำคัญ

               จากการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และโปรแกรม  
The Geometer 's Sketchpad ทำให้ผู้จัดทำเกิดความรู้และแนวคิดใหม่ จึงได้นำมาบูรณการเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเชียงใหม่โดยได้ประดิษฐ์ก้อม(ที่นั่ง)ของชาวล้านนามีลักษณะเป็นรูปเรขาคณิตแบบต่างๆ แล้ววาดลายลงบนก้อม(ที่นั่ง) ซึ่งสร้างมาจาก โปรแกรมThe Geometer 's Sketchpad โดยใช้การเทสเซลเลชัน(Tessellation)ทำให้เกิดลวดลายที่สวยงามมากยิ่งขึ้น
                 
โครงงานคณิตศาสตร์  เรื่อง  Tessellation ลายก้อมสวยด้วย GSP  จึงเป็นการประดิษฐ์ลวดลายสวยงามของก้อม(ที่นั่ง)หลากหลายรูปแบบซึ่งเกิดจากการนำความรู้เรื่องรูปเรขาคณิต  การวัด และมุม มาประยุกต์ใช้สร้างและออกแบบโดยการเทสเซลเลชัน(Tessellation) ในโปรแกรม The Geometer 's Sketchpad
 
 
 
 
 
                                          

โครงงานคณิตศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1

Tessellation ลายก้อมสวยด้วย GSP
 
จัดทำโดย
 
 
 
   
 
 
 
 
 
 
 ครูที่ปรึกษา
 
1. ครูกมลพรรณ    คำมามูล
 
2. ครูจิตรานุช       อินต๊ะนัย